กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8773
ชื่อเรื่อง: สภาพการจัดบริการแนะแนวสำหรับนักศึกษาในศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Conditions of guidance service provision for students in non-formal and informal education centers in Nakhon Si Thammarat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วัลภา สบายยิ่ง, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิธิพัฒน์ เมฆขจร, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินตนา สารารัตน์, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนว -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
การแนะแนวการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพและความคาดหวังของการจัดบริการแนะ แนวสำหรับนักศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครศรีธรรมราช (2) เปรียบเทียบสภาพการให้บริการแนะแนวและความคาดหวังของนักศึกษาจำแนก ตาม เพศ อายุ ประสบการณ์ทำงาน ฐานะทางเศรษฐกิจและแรงจูงใจใฝ่ สัมฤทธิ์ และ (3) ศึกษาปัญหาและเสนอแนะ การจัดบริการแนะแนวของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัย จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 368 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย กำหนดขนาดของกลุ่ม ตัวอย่างด้วยวิธีของยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษา เกี่ยวกับสภาพการจัดบริการแนะแนวของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในจังหวัด นครศรีธรรมราช แบ่งออกเป็น 5 ด้าน คือ ด้านศึกษารายบุคคล ด้านบริการสนเทศ ด้านการให้คำปรึกษา ด้านจัดวางตัวบุคคล และด้านติดตามประเมินผล มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .95 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวน วิธีของเชฟเฟ่ เพี่อการทกสอบรายคู่ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) สภาพและความคาดหวังของการจัดบริการแนะแนวสำหรับ นักศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดนครศรีธรรมราช อยู่ในระดับ มาก (2) นักศึกษาในศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มี เพศ อายุ ประสบการณ์ทำงาน ฐานะทางเศรษฐกิจ และแรงจูงใจใฝ่ สัมฤทธิ์ ที่ีแตกต่างมีความคิดเห็นต่อ สภาพการจัดบริการแนะแนว ในภาพรวมและรายด้าน ทุกด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 และ (3) สำหรับปัญหาและข้อเสนอแนะการจัดบริการแนะแนว มีข้อเสนอแนะ เรียงตามลำดับ 3 อันดับแรกได้ดังนี้ การจัดการศึกษานอกโรงเรียนควรมีระเบียบ มีความเข้มงวดมากกว่านี้ และมีการ ปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นตลอดไป โดยจัดให้มีการสอนในระดับที่สูงขึ้น ได้แก่ ปวช. ปวส. และปริญญาตรี
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8773
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
144667.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons