กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8776
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการจัดการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Model of lifelong education for enhancing well-being of elderly people with chronic diseases in Phu Khieo District, Chaiyaphum Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุมาลี สังข์ศรี
ตรีคม พรมมาบุญ 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สารีพันธุ์ ศุภวรรณ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการศึกษานอกระบบ--วิทยานิพนธ์
การศึกษาต่อเนื่อง--ไทย--การจัดการ
ผู้สูงอายุ--สุขภาพและอนามัย--ไทย
ผู้สูงอายุ--โรค--การดูแล
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาด้านสุขภาวะ ความต้องการและ แนวทางในการจัดการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังจากความคิดเห็นของ ผู้สูงอายุ ผู้ดูแลในครอบครัว และบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข (2) สังเคราะห์รูปแบบการจัดการศึกษา ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง และ (3) ประเมินและนำเสนอรูปแบบการจัดการศึกษา ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้ังนี้ ประกอบด้วย 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง (เบาหวาน ร่วมกับความดันโลหิตสูง) ในจังหวัดชัยภูมิ ใช้วิธีการสุ่มการสุ่มแบบแบ่งชั้น จำนวน 330 คน กลุ่มผู้ดูแลผู้สูงอายุ โรคเรื้อรัง จำนวน 330 คน กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เลือกแบบเจาะจง 30 คน และกลุ่ม ผู้เชี่ียวชาญประเมินรูปแบบ จำนวน 15 คน เครื่ืองมือวิจัย คือ (1) แบบสอบถาม จำนวน 3 ชุด สำหรับแต่ละกลุ่ม ตัวอย่าง ซึ่งมีค่าความเที่ียงเท่ากับ 0.84 , 0.87 และ 0.82 ตามลำดับ และ (2) แบบประเมินรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย ปรากฏว่า (1) สภาพปัจจุบันผู้สูงอายุโรคเรื้อรังมีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาวะภาพรวม เป็นประจำสม่ำเสมอ ปัญหาสุขภาวะด้านสุขภาพร่างกายและด้านความรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้าน สุขภาพจิตใจและด้านสภาพแวดล้อมโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ความต้องการศึกษาตลอดชีวิตด้านเนื้อหามีความ ต้องการในระดับมากในความรู้เรื่องโรคเบาหวาน การดูแลตนเองในกรณีมีภาวะแทรกซ้อนสิทธิประโยชน์ด้านสุข ภาวะของผู้สูงอายุ การรับประทานอาหารและโรคความดันโลหิตสูง และความรู้เกี่ยวกับการรับประทานยา ด้าน วิธีการรับความรู้ พบว่า ต้องการให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข บุคคลในครอบครัวหรือผู้ที่ให้การดูแล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเป็นผู้ให้ความรู้ในระดับมาก ส่วนด้านวิธีการให้ความรู้ ต้องการให้จัดกลุ่ม พูดคุยในกลุ่มเพื่อนที่ีเป็นโรคเรื้อรัง ฝึกปฏิบัติในการปรับเปลี่ียนพฤติกรรมสุขภาพ ฝึกอบรมหรือประชุม ให้ความรู้ ทางหอกระจายข่าว ให้ความรู้ทางรายการวิทยุ และ ให้ความรู้ทางรายการโทรทัศน์ ในระดับมาก ด้านสถานที่จัด กิจกรรมให้ความรู้ ต้องการจัดที่ศาลากลางบ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และวัด ตามลำดับ ด้านระยะเวลา ต้องการจัดในวันจันทร์-วันศุกร์ ช่วงเช้า เวลา 09.00-12.00 น. (2) รูปแบบการจัดการศึกษาตลอดชีวิตผู้สูงอายุโรค เรื้อรังมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (ก) ด้านสภาพปัจจุบัน ปัญหาสุขภาวะและความจำเป็นการจัดการศึกษาตลอดชีวิต (ข) ด้านวัตถุประสงค์ (ค) ด้านเนื้อหาสาระ (ง) ด้านวิธีการจัดการศึกษาตลอดชีวิต และ (จ) ด้านการวัดและประเมินผลการ จัดการศึกษาตลอดชีวิต และ (3) ผลการประเมินรูปแบบการจัดการศึกษาตลอดชีวิตโดยผู้เชี่ยวชาญด้านความเหมาะสม และความเป็นไปได้ พบว่า ในการนำไปปฏิบัติในภาพรวมรูปแบบมีความเหมาะสม และความเป็นได้อยู่ในระดับมาก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การศึกษานอกระบบ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8776
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
145934.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.45 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons