กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8801
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาระบบการเรียนการสอนผ่านเว็บวิชาเขียนแบบเทคนิคเบื้องต้นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of a web-based instructional system in the preliminary technical writing course for Mathayomsuksa V students iat Si Sa Ket Wittayalai School
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรางคณา โตโพธิ์ไทย
สมหมาย พิทักษา, 2499-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา-- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
คอมพิวเตอร์--การศึกษาและการสอน--คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การเรียนการสอนผ่านเว็บ
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการเรียนการสอนผ่านเว็บวิชาเขียนแบบ เทคนิคเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย ประชากร ได้แก่ (1) ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียน ศรีสะเกษวิทยาลัย จำนวน 22 คน นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย จำนวน 652 คน (2) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา จำนวน 3 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัย จำนวน 2 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านวัดผลและประเมินผล จำนวน 2 คน รวมจำนวน 7 คน และ (3) ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา จำนวน 3 คน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 154 คน ได้มาจากการสุ่มแบบ เจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แบบสอบถามความต้องการระบบการเรียนการ สอนผ่านเว็บของครูผู้สอนและนักเรียน (2) แบบระดมความเห็นในการสนทนากลุ่ม และ (3) แบบ ประเมินเพื่อรับรองคุณภาพระบบการเรียนการสอนผ่านเว็บสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา จากผลการวิจัย พบว่า (1) การวิเคราะห์ความต้องการของครูผู้สอนและผู้เรียนเกี่ยวกับ ระบบการเรียนการสอนผ่านเว็บ ครูผู้สอนมีความต้องการร้อยละ 100 นักเรียนมีความต้องการร้อยละ 60.39 (2) การระดมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบการเรียนการสอนผ่านเว็บ พบว่า มี ความเป็นไปได้ ชัดเจน และผู้ทรงคุณวุฒิรับรองระบบการเรียนการสอนผ่านเว็บ ว่ามีคุณภาพอยู่ใน ระดับดี และ (3) ระบบการเรียนการสอนผ่านเว็บ ประกอบด้วย (ก) การสำรวจปัญหาและความ ต้องการ (ข) การพัฒนาหลักสูตร (ค) การผลิตสื่อการเรียนการสอน (ง) การจัดสภาพแวดล้อมทางการ เรียนเสมือน (จ) การถ่ายทอดเนื้อหาและประสบการณ์ และ (ฉ) การประเมินการเรียนการสอน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8801
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
146207.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.24 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons