กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8864
ชื่อเรื่อง: ผลกระทบของคุณวุฒิและกลยุทธ์การสอนของครูต่างชาติต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 โครงการภาคภาษาอังกฤษ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Impact of foreign teacher's qualification and teaching strategies on Mathematics achievement of Mathayom Suksa III English Program students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สังวรณ์ งัดกระโทก, อาจารย์ที่ปรึกษา
นลินี ณ นคร, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุกิจ ชีรนรวนิชย์, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา -- วิทยานิพนธ์
คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน -- คณิตศาสตร์
การสอน
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากลยุทธ์การสอนวิชาคณิตศาสตร์ของครูต่างชาติและระบุความแตกต่างของกลุ่มครูต่างชาติที่จำแนกตามกลยุทธ์การสอน (2) ประเมินผลกระทบของคุณวุฒิ และกลยุทธ์การสอนของครูต่างชาติต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โครงการภาคภาษาอังกฤษ (3) ศึกษาอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ของตัวแปรนักเรียนกับบริบทโรงเรียนและคุณวุฒิของครูต่างชาติต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โครงการภาคภาษาอังกฤษ และ (4) ศึกษาอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ของตัวแปรนักเรียนและกลยุทธ์การสอนของครูต่างชาติต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โครงการภาคภาษาอังกฤษ ประชากรในการวิจัย คือ ครูต่างชาติและนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 โครงการภาคภาษาอังกฤษในภาคกลางและตะวันออก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 60 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูต่างชาติที่สอนโครงการภาคภาษาอังกฤษจำนวน 22 คน และนักเรียนจำนวน 796 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ แบบวัดเจตคติ แบบสอบถามครูและนักเรียน ตัวแปรครูที่ศึกษา ได้แก่ คุณวุฒิ ภาระงาน ความพึงพอใจต่อค่าตอบแทนและสื่อการเรียนการสอน เจตคติต่อการสอน และกลยุทธ์การสอน ส่วนตัวแปรนักเรียน ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เพศ ฐานะทางครอบครัว และเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์กลุ่มแฝง และการวิเคราะห์พหุระดับ ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ผลการวิเคราะห์กลุ่มแฝงจำแนกครูต่างชาติออกเป็นสองกลุ่มตามกลยุทธ์ การสอนกลุ่มแรกประกอบด้วยครูที่เน้นการสอนที่ใช้ทักษะการคิดขั้นสูง และกลุ่มที่สองเน้นทักษะการคิดขั้นต่ำ ครูที่มีเจตคติต่อการสอนดีและมีความพึงพอใจต่อค่าตอบแทนและสื่อการเรียนการสอนมีโอกาสถูกจำแนกอยู่ในกลุ่มแรกมากกว่ากลุ่มที่สองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ตัวแปรครูที่มีผลกระทบเชิงบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ประสบการณ์การสอน และการสอนที่เน้นการพิสูจน์ เมื่อควบคุมตัวแปรอื่นแล้ว (3) ประสบการณ์การสอนของครูส่งผลให้ความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ระหว่างหญิงและชายลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (4) การสอนที่เน้นความจำและเน้นการสังเคราะห์ ลดความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ระหว่างหญิงและชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8864
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
147941.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.72 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons