กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8927
ชื่อเรื่อง: | การประเมินหลักสูตรสถานศึกษาโครงการห้องเรียนพิเศษชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Evaluation of special classroom project of school-base curriculum at the Lower Secondary level of Suan Kularb Wittayalai Nonthaburi School |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมคิด พรมจุ้ย สุภลักษณ์ สถิตไชยนนท์, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุพักตร์ พิบุลย์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ การประเมินหลักสูตร ห้องเรียน นักเรียนมัธยมศึกษา--ไทย--นนทบุรี |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินหลักสูตรสถานศึกษาโครงการห้องเรียนพิเศษชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี ในด้านวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ความพร้อมด้านปัจจัยเบื้องต้น ความเหมาะสมด้านกระบวนการ และผลผลิตของหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 5 คน ครูผู้สอน จำนวน 30 คน นักเรียน จำนวน 341 คน ผู้ปกครอง จำนวน 341 คน และผู้สำเร็จการศึกษา จำนวน 233 คน รวมทั้งสิ้น 950 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบบันทึกข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร มีความชัดเจน และมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน (2) ความพร้อมด้านปัจจัยเบื้องต้น ได้แก่ โครงสร้างหลักสูตร เนื้อหารายวิชา คุณลักษณะของครูผู้สอน คุณลักษณะของนักเรียน อาคาร สถานที่ สื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอน และงบประมาณ มีความพร้อมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน (3) ความเหมาะสมด้านกระบวนการ ได้แก่ การบริหารหลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดผลและประเมินผล มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน และ (4) ด้านผลผลิตของหลักสูตร ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรดังกล่าวผ่านเกณฑ์การประเมิน การประเมินการคิดวิเคราะห์ และเขียน การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และการประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (O – NET) ของนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรโครงการห้องเรียนพิเศษ มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทั้ง 7 กลุ่มสาระ สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ ผ่านเกณฑ์การประเมิน ยกเว้นกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8927 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
148346.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.96 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License