Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8930
Title: แบบจำลองการออกแบบกิจกรรมการศึกษานอกสถานที่เสมือนจริงสาระภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคใต้
Other Titles: Model of design for activities in virtual field trip via web-based instruction in the geography substance for Primary School students under the Office of the Basic Education Commission in the Southern Region.
Authors: ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรางคณา โตโพธิ์ไทย, อาจารย์ที่ปรึกษา
จารุภัทร มุสิกรัตน์, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา -- วิทยานิพนธ์
ภูมิศาสตร์ -- กิจกรรมการเรียนการสอน
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความต้องการของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกสถานที่เสมือนจริง สาระภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคใต้ (2) สร้างแบบจำลองการจัดกิจกรรมการศึกษานอกสถานที่เสมือนจริง และ (3) ประเมินแบบจำลองการออกแบบกิจกรรมการศึกษานอกสถานที่เสมือนจริง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ประกอบด้วย (1) ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สังกัดโรงเรียนในพื้นที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 23 คน (2) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิศาสตร์ จำนวน 10 คน และ (3) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แบบสอบถามความต้องการกิจกรรมการศึกษานอกสถานที่เสมือนจริง (2) แบบระดมความเห็นในการสนทนากลุ่ม (3) ต้นแบบชิ้นงานแบบจำลอง และ (4) แบบประเมินรับรองต้นแบบชิ้นงานแบบจำลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ครูผู้สอนมีความต้องการในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกสถานที่เสมือนจริงโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ผลการสร้างแบบจำลอง พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าแบบจำลองการออกแบบกิจกรรม การศึกษานอกสถานที่เสมือนจริง สาระภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคใต้ ประกอบด้วย (ก) องค์ประกอบด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ การวิเคราะห์สภาพกิจกรรมการศึกษานอกสถานที่ในปัจจุบัน การวิเคราะห์ปัญหากิจกรรมการศึกษานอกสถานที่ในปัจจุบัน การวิเคราะห์ความจำเป็นในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกสถานที่เสมือนจริง การกำหนดขอบข่ายเนื้อหาสำหรับกิจกรรมการศึกษานอกสถานที่เสมือนจริง การกำหนดวัตถุประสงค์ของกิจกรรมการศึกษานอกสถานที่เสมือนจริง การกำหนดกิจกรรมการศึกษานอกสถานที่เสมือนจริง การกำหนดคุณสมบัติผู้สอน การกำหนดคุณสมบัติผู้เรียน การกำหนดเทคโนโลยีและคุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ และการกำหนดเกณฑ์การประเมินผลกิจกรรมการศึกษานอกสถานที่เสมือนจริง (ข) องค์ประกอบด้านกระบวนการ ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การแนะนำขั้นตอนกิจกรรมการศึกษานอกสถานที่เสมือนจริง ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาเนื้อหาที่กำหนด ขั้นตอนที่ 3 การปฏิบัติตามกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย ขั้นตอนที่ 4 การให้คำปรึกษา/ขอคำปรึกษาระหว่างการดำเนินกิจกรรม และขั้นตอนที่ 5 การติดตามผลและประเมินผล และ (ค) องค์ประกอบด้านผลลัพธ์ ได้แก่ การประเมินผลก่อน ระหว่าง และหลังกิจกรรมการศึกษานอกสถานที่เสมือนจริง การประเมินแบบจำลองการออกแบบกิจกรรมการศึกษานอกสถานที่เสมือนจริง และการปรับปรุงแบบจำลองการออกแบบกิจกรรมการศึกษานอกสถานที่เสมือนจริง (3) ผลการประเมินแบบจำลองการออกแบบกิจกรรม การศึกษานอกสถานที่เสมือนจริง โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่าแบบจำลองที่สร้างขึ้นสามารถใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมการศึกษานอกสถานที่เสมือนจริง สาระภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคใต้ ได้ในระดับ เหมาะสมมาก
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8930
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
148732.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.16 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons