กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8939
ชื่อเรื่อง: ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อส่งเสริมการตระหนักรู้ในตนเองต่อเรื่องเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหอพระ จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of using guidance activity package for enhancing self-awareness of sex in Mathayom Suksa II Students Horpha School, Chiangmai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุขอรุณ วงษ์ทิม
จันทร์ทิมา ขุนบำรุง, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
นิรนาท แสนสา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา--วิทยานิพนธ์
เพศศึกษา--การศึกษาและการสอน
การแนะแนว--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)--ไทย--เชียงใหม่
การแนะแนว--กิจกรรมการเรียนการสอน
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการตระหนักรู้ในตนเองต่อเรื่องเพศของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว 2) เปรียบเทียบการตระหนักรู้ ในตนเองต่อเรื่องเพศของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังการทดลอง และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อชุดกิจกรรมแนะแนว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ของโรงเรียนหอพระ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 50 คน ได้มาโดยสุ่มแบบกลุ่ม จากนั้นสุ่มอย่างง่าย เพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 25 คนเท่ากัน กลุ่มทดลองได้รับการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อส่งเสริมการตระหนักรู้ในตนเองต่อเรื่องเพศ และกลุ่มควบคุมได้รับกิจกรรม แนะแนวแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อส่งเสริมการตระหนักรู้ในตนเองต่อเรื่องเพศ 2) แบบวัดการตระหนักรู้ในตนเองต่อเรื่องเพศ ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .93 3) กิจกรรมแนะแนวแบบปกติ และ 4) แบบวัดความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อส่งเสริมการตระหนักรู้ในตนเองต่อเรื่องเพศ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏ 1) ภายหลังการทดลอง นักเรียนกลุ่มทดลองมีการตระหนักรู้ในตนเองต่อเรื่องเพศเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ภายหลังการทดลอง นักเรียนกลุ่มทดลองมีการตระหนักรู้ในตนเองต่อเรื่องเพศสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อส่งเสริมการตระหนักรู้ในตนเองต่อเรื่องเพศอยู่ในระดับมาก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8939
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
150116.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.81 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons