กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8956
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมอาสาสมัครของอาสาสมัครคุมประพฤติกระทรวงยุติธรรมในเขตกรุงเทพมหานคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors affecting voluntary behaviors of probation volunteers under the Ministry of Justice in Bangkok Metropolitan Area |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วัลภา สบายยิ่ง ตะติมา นุ้ยฉิม, 2511- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา นิรนาท แสนสา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา--วิทยานิพนธ์ อาสาสมัครคุมประพฤติ--ไทย--กรุงเทพฯ |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับปัจจัยด้านแรงจูงใจ เครือข่ายทางสังคม ประสบการณ์ในงานอาสาสมัคร ที่มีผลต่อพฤติกรรมอาสาสมัครของอาสาสมัครคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรมในเขตกรุงเทพมหานคร (2) ศึกษาอำนาจพยากรณ์ของแรงจูงใจ เครือข่ายทางสังคม ประสบการณ์ในงานอาสาสมัครที่มีผลต่อพฤติกรรมอาสาสมัครของอาสาสมัครคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม ในเขตกรุงเทพมหานคร (3) เปรียบเทียบพฤติกรรมอาสาสมัครของอาสาสมัครคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม ในเขตกรุงเทพมหานคร ตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (4) ศึกษาแนวทางการพัฒนางานอาสาสมัครคุมประพฤติในการช่วยเหลือภารกิจของกรมคุมประพฤติกระทรวงยุติธรรม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นอาสาสมัครคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 301 คน ได้มาโดยการเลือกแบบบังเอิญ กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีของทาโร่ ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมอาสาสมัครของอาสาสมัครคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม โดยมีค่าความเที่ยงอยู่ที่ .97 ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ระดับแรงจูงใจ เครือข่ายทางสังคม และประสบการณ์ในงานอาสาสมัคร ที่มีผลต่อพฤติกรรมอาสาสมัครของอาสาสมัครคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรมในเขตกรุงเทพมหานคร มีค่าเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (2) แรงจูงใจ เครือข่ายทางสังคม ประสบการณ์ในงานอาสาสมัคร สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมอาสาสมัครได้ร้อยละ 45 (3) อาสาสมัครคุมประพฤติที่มีระยะเวลาและประสบการณ์การเป็นอาสาสมัครแตกต่างกัน มีพฤติกรรมอาสาสมัครในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (4) แนวทางการพัฒนางานอาสาสมัครคุมประพฤติในการช่วยเหลือภารกิจของกรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม ได้แก่ กรมคุมประพฤติควรพัฒนาบุคลากร การบริหารงาน ระบบสรรหา ศักยภาพ รางวัลเชิดชูเกียรติและบทบาทอาสาสมัครคุมประพฤติที่ชัดเจน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8956 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
151574.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 1.94 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License