กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8985
ชื่อเรื่อง: | ประสบการณ์การเรียนรู้สู่สัมมาอาชีพของสมาชิกชุมชนศีรษะอโศก จังหวัดศรีสะเกษ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Learning experience toward right livelihood of members of Sisa Asoke Community in Si Sa Ket Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นิรนาท แสนสา ไพรัตน์ อาษานอก, 2521- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา จิระสุข สุขสวัสดิ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา-- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ สมาชิกชุมชนศีรษะอโศก จังหวัดศรีสะเกษ ชุมชนศีรษะอโศก (ศรีสะเกษ) การเรียนรู้ อาชีพ--การศึกษาและการสอน |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การเรียนรู้สู่สัมมาอาชีพของสมาชิกชุมชนศีรษะอโศก จังหวัดศีรษะเกษ การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาเชิงตีความ ผู้ให้ข้อมูลคือ สมาชิกชุมชนศีรษะอโศก จำนวน 9 ราย ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาสร้างข้อสรุปแบบอุปนัยเพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัย ผลการวิจัยปรากฏว่า ประสบการณ์การเรียนรู้สู่สัมมาอาชีพของสมาชิกชุมชนศีรษะอโศก จังหวัดศรีสะเกษ ประกอบด้วย 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ ประเด็นหลักที่ 1 วิถีชีวิตตามแนวโลกียะ ประกอบด้วย 4 ประเด็นรอง คือ (1) วิถีชีวิตในครอบครัว ประกอบด้วย ช่วงชีวิตวัยเด็กและช่วงชีวิตวัยรุ่น (2) อาชีพและการดำเนินชีวิต (3) การศึกษาธรรมะ ประกอบด้วย การศึกษาธรรมะจากครอบครัวและการศึกษาธรรมะจากสถานปฏิบัติธรรมทั่วไป และ (4) การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับศีรษะอโศก โดยรับรู้ผ่านสื่อบุคคล สื่อสิ่งพิมพ์และสื่อวิทยุกระจายเสียง ประเด็นหลักที่ 2 การก้าวเข้าสู่ชีวิตตามแนวทางโลกุตระ ประกอบด้วย 3 ประเด็นรอง คือ (1) กิจกรรมงานปลุกเสกพระแท้ของพุทธ (2) กิจกรรมงานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ และ (3) กิจกรรมช่วงเข้าพรรษา ประเด็นหลักที่ 3 การเรียนรู้สู่สัมมาอาชีพแบบอาริยะ ประกอบด้วย 2 ประเด็นรอง คือ (1) การบำเพ็ญธรรม ประกอบไปด้วย การถือศีล 5 การละอบายมุข และการรับประทานอาหารมังสวิรัติ และ (2) การบำเพ็ญคุณ ประกอบด้วย ฐานงานคุรุ ฐานงานร้านค้าบุญนิยม ฐานงานกสิกรรมธรรมชาติ ฐานงานปุ๋ยสะอาด ฐานงานขยะวิทยา ฐานงานแชมพูสมุนไพร และ ฐานงานจักรสาน ประเด็นหลักที่ 4 คนจนมหัศจรรย์ ประกอบด้วย 3 ประเด็นรอง คือ (1) เกิดจิตวิญญาณใหม่ในกายเก่า (2) จิตอาสาเงินเดือนศูนย์บาท และ (3) เป็นผู้มีวัฒนธรรมบุญนิยม |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8985 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
153218.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.13 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License