กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8986
ชื่อเรื่อง: ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวอาชีพเพื่อพัฒนาการรับรู้ด้านการศึกษาต่อสายอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโคกตูมวิทยา จังหวัดลพบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of using a career guidance activities package to develop awareness of further study in vocational education of Mathayom Suksa II students at Koktum Wittaya School in Lop Buri Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จิระสุข สุขสวัสดิ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิรนาท แสนสา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปิยวรรณ ปรีชานุกูล, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
การศึกษาทางอาชีพ -- กิจกรรมการเรียนการสอน
การแนะแนวอาชีพ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) -- ไทย -- ลพบุรี
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบระดับการรับรู้ด้านการศึกษาต่อสายอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโคกตูมวิทยา จังหวัดลพบุรี ในกลุ่มทดลองก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวอาชีพ (2) เปรียบเทียบระดับการรับรู้ด้านการศึกษาต่อสายอาชีพของนักเรียนดังกล่าวในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมระยะหลังการทดลอง และ (3) เปรียบเทียบระดับการรับรู้ด้านการศึกษาต่อสายอาชีพของนักเรียนดังกล่าวในกลุ่มทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโคกตูมวิทยา ปีการศึกษา 2559 จังหวัดลพบุรี จำนวน 40 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม แล้วสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับฉลากเพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 20 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 20 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับชุดกิจกรรมแนะแนวอาชีพเพื่อพัฒนาการรับรู้ด้านการศึกษาต่อสายอาชีพ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับชุดกิจกรรมแนะแนวปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมแนะแนวอาชีพเพื่อพัฒนาการรับรู้ด้านการศึกษาต่อสายอาชีพ (2) แบบประเมินการรับรู้ด้านการศึกษาต่อสายอาชีพ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .89 และ (3) ชุดกิจกรรม แนะแนวปกติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) ระยะหลังการทดลอง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโคกตูมวิทยา ในกลุ่มทดลองมีการรับรู้ด้านการศึกษาต่อสายอาชีพสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ระยะหลังการทดลอง นักเรียนกลุ่มทดลองมีการรับรู้ด้านการศึกษาต่อสายอาชีพสูงกว่าของนักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) ระยะติดตามผล นักเรียนกลุ่มทดลองมีการรับรู้ด้านการศึกษาต่อสายอาชีพไม่แตกต่างกับระยะหลังการทดลอง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8986
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
153224.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.42 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons