Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8995
Title: วิถีชีวิตของวัยรุ่นชายรักชายที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา
Other Titles: Life style of homosexual male adolescents studying in higher education institutions
Authors: นิรนาท แสนสา, อาจารย์ที่ปรึกษา
วัลภา สบายยิ่ง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธีรกานท์ มูลรังษี, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
รักร่วมเพศชาย -- ไทย
บุรุษ -- พฤติกรรมทางเพศ
รักร่วมเพศ -- ไทย
วิถีทางเพศ
นักศึกษา -- การดำเนินชีวิต
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีชีวิตและการปรับตัวของวัยรุ่นชายรักชายในระดับอุดมศึกษา จังหวัดพิษณุโลก โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 9 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลผลการสัมภาษณ์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า วิถีชีวิตของวัยรุ่นชายรักชายในระดับอุดมศึกษา สามารถแบ่งได้เป็น 5 ประเด็น ดังนี้ (1) ภูมิหลังของสาเหตุการเป็นชายรักชาย พบว่า ผู้ให้ข้อมูลหลักมีความสนิทสนมกับมารดาหรือญาติที่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชายหรือมีญาติที่แสดงพฤติกรรมโน้มเอียงทางเพศให้ผู้ให้ข้อมูลหลักได้พบเห็น และผู้ให้ข้อมูลยังมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับสังคมปกติและสังคมของกลุ่มบุคคลที่มีพฤติกรรมโน้มเอียงทางเพศเป็นอย่างดี (2) ด้านการยอมรับและความชัดเจนในการเป็นชายรักชาย พบว่า ผู้ให้ข้อมูล เกิดรับรู้ตัวตนครั้งแรกในช่วงวัยเด็กหรือวัยรุ่นตอนต้น และสามารถยอมรับความเป็นชายรักชายได้ในช่วงมัธยมศึกษา จากการแสวงหาคาตอบในตัวตนของตนเอง และเปิดเผยต่อครอบครัวและสังคมเป็นลำดับต่อมา ซึ่งการยอมรับจากครอบครัวและสังคมนี้ ขึ้นอยู่กับความเข้าใจและความคาดหวังในตัวตนของผู้ให้ข้อมูล รวมถึงประสบการณ์ของในแต่ละสังคมและครอบครัว (3) ด้านปัญหาใช้ชีวิต พบว่า ผู้ให้ข้อมูลหลัก มีปัญหาในด้านการศึกษา ซึ่งมักส่งผลกระทบต่อจิตใจ เนื่องจากต้องการรักษาการยอมรับจากสังคมผ่านการศึกษา (4) การสร้างความสัมพันธ์กับคนรัก พบว่า มีการพบกันครั้งแรกในอินเตอร์เน็ตเป็นส่วนใหญ่และได้มีการสร้างความสัมพันธ์เป็นกระบวนการ ซึ่งหากไม่สามารถรักษาความสัมพันธ์นี้ได้ก็จะเกิดการเลิกรากันในที่สุด และผู้ให้ข้อมูลหลักที่ผ่านการมีคนรักจะผ่านการมีเพศสัมพันธ์ด้วยเช่นกัน และ (5) มุมมองการเป็นชายรักชาย พบว่า ผู้ให้ข้อมูลหลักไม่มีความเสียใจที่เป็นชายรักชาย แต่ให้ความสาคัญกับการวางตัวและการพัฒนาตนเองเพื่อให้เป็นที่ยอมรับจากสังคม จากผลการวิจัยดังกล่าวสามารถนาไปใช้ในการวางแผน การดำเนินงานเกี่ยวกับชายรักชาย ไม่ว่าจะเป็นในสถานศึกษาหรือในสังคมเพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการดำเนินชีวิตของชายรักชาย และเป็นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาในอนาคตต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8995
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
154685.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.13 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons