Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8996
Title: ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องสิ่งแวดล้อมที่มีต่อทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดภูเก็ต
Other Titles: Effects of problem-based learning management in the topic of environment on problem solving skill and analytical thinking skill of Mathayom Suksa VI students in Phuket Province
Authors: จุฬารัตน์ ธรรมประทีป, อาจารย์ที่ปรึกษา
นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
กฤษฎา หัดหรอ, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกวิทยาศาสตร์ศึกษา -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
การเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การแก้ปัญหา -- กิจกรรมการเรียนการสอน
ทักษะทางการคิด -- กิจกรรมการเรียนการสอน
สิ่งแวดล้อม -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) -- ไทย -- ภูเก็ต
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาหลังเรียนของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดภูเก็ต ของกลุ่มที่เรียนจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กับของกลุ่มที่เรียนแบบปกติเรื่อง สิ่งแวดล้อม และ (2) เปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์หลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดภูเก็ต ของกลุ่มที่เรียนจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหา เป็นฐานกับของกลุ่มที่เรียนแบบปกติเรื่อง สิ่งแวดล้อม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนภูเก็ตไทยหัวอาเซียนวิทยา ปีการศึกษา 2559 จำนวน 53 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องสิ่งแวดล้อม และแผนการจัดการเรียนรู้ปกติ (2) แบบวัดทักษะการแก้ปัญหา และ (3) แบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ทักษะการแก้ปัญหาหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดภูเก็ต ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานไม่แตกต่างจากของนักเรียนที่เรียนแบบ ปกติ และ (2) ทักษะการคิดวิเคราะห์หลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็น ฐานสูงกว่าของนักเรียนที่เรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8996
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
154686.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.28 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons