กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8999
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาสภาพปัญหา สาเหตุ และแนวทางแก้ไขปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าว: กรณีศึกษานักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Study of problem conditions, causes and guidelines for solving aggressive behavior problems: a case study study of upper primary students of a school in the Northeastern Region |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นิรนาท แสนสา เบญจวรรณ ขำเอนก, 2530- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา จิระสุข สุขสวัสดิ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา-- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ ความก้าวร้าวในเด็ก--ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) นักเรียนประถมศึกษา--พฤติกรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารายกรณีของสภาพปัญหา สาเหตุ และแนวทางแก้ไขปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 5 คน ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกการสังเกต แบบบันทึกการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบการเขียนอัตชีวประวัติ แบบบันทึกประจำวัน ระเบียนสะสม แบบการเยี่ยมบ้าน แบบสอบถาม และแบบทดสอบทางจิตวิทยา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) สภาพปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวของกรณีศึกษาจำแนกออกเป็น 2 ลักษณะ ประกอบด้วย ลักษณะพฤติกรรมก้าวร้าวทางกาย และ ลักษณะพฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจา (2) สาเหตุของพฤติกรรมก้าวร้าว เกิดจากผู้รับการศึกษาเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมก้าวร้าวที่บุคคลกระทาต่อกัน ได้แก่ พฤติกรรมก้าวร้าวของบิดามารดา คนในครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน บุคคลในชุมชน และจากการเสพสื่อประเภทต่างๆ และ (3) แนวทางการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้รับการศึกษา ได้แก่ (3.1) ตัวผู้รับการศึกษาตระหนักในพฤติกรรมก้าวร้าวของตนเองว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ไม่ควรกระทำ (3.2) เพื่อนร่วมชั้นเรียนต่อต้านและหลีกเลี่ยงการปะทะที่ก่อให้เกิดความรุนแรงกับผู้รับการศึกษา และ (3.3) ครูประจำชั้นและผู้ปกครองร่วมมือกันให้การดูแลเอาใจใส่ในการแก้ไขพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้รับการศึกษามากขึ้น เพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้รับการศึกษา |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8999 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
154689.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.41 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License