Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9001
Title: ผลของการปรึกษาแบบกลุ่มเพื่อเสริมสร้างเจตคติในการป้องกันโรคของผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดโรงพยาบาลวังม่วงสัทธรรม จังหวัดสระบุรี
Other Titles: Effects of group counseling to enhance attitudes toward disease prevention of people at risk of cardiovascular disease in Wang Muang Sattham Hospital, Saraburi Province
Authors: สุขอรุณ วงษ์ทิม, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิธิพัฒน์ เมฆขจร, อาจารย์ที่ปรึกษา
อรนลิน ไทยเจริญ, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม
หัวใจ -- โรค -- การป้องกันและควบคุม
หลอดเลือด -- โรค -- การป้องกันและควบคุม
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบเจตคติในการป้องกันโรคของผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดกลุ่มทดลองก่อนและหลังการปรึกษาแบบกลุ่ม และ (2) เปรียบเทียบเจตคติในการป้องกันโรคของผู้ที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษาแบบกลุ่มและของกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด จำนวน 16 คน ที่โรงพยาบาลวังม่วงสัทธรรม จังหวัดสระบุรี ได้มาโดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 8 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มทดลองได้รับการให้การปรึกษาแบบกลุ่ม จำนวน 8 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) โปรแกรมการให้การปรึกษาแบบกลุ่มเพื่อเสริมสร้างเจตคติในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด และ (2) แบบวัดเจตคติในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .87 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าเบี่ยงเบนควอไทล์ การทดสอบวิลคอกซัน และการทดสอบแมนวิทนีย์ ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดกลุ่มทดลอง มีเจตคติในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ภายหลังการทดลอง สูงกว่าก่อนการให้การปรึกษาแบบกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (2) ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดกลุ่มทดลองมีเจตคติในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดภายหลังการทดลองสูงกว่าของกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9001
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
154691.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.66 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons