กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9003
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดภูเก็ต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of indicators and criteria for evaluation of scientific mind of lower secondary students in Phuket Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นลินี ณ นคร
ชลิดา ไชยพันธ์กุล, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สังวรณ์ งัดกระโทก
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา-- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
จิตกับวิทยาศาสตร์
จิตวิทยาเด็ก--ไทย
สุขภาพจิตเด็ก
จิตวิทยาวัยรุ่น
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวชี้วัดจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดภูเก็ต 2) พัฒนาเกณฑ์การประเมินจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดภูเก็ต และ 3) ตรวจสอบความเหมาะสมของเกณฑ์การประเมิน จิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดภูเก็ต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการมัธยมศึกษา เขต 14 จังหวัดภูเก็ต ปีการศึกษา 2558 จำนวน 520 คน โดยเลือกมาด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ตัวชี้วัดจิตวิทยาศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมี 28 ตัวชี้วัด ครอบคลุมองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ ความมีเหตุผล ประกอบด้วย 11 ตัวชี้วัด ความอยากรู้อยากเห็น ประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัด ความใจกว้าง ประกอบด้วย 4 ตัวชี้วัด ความซื่อสัตย์และมีใจเป็นกลางพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจ ประกอบด้วย 8 ตัวชี้วัด โมเดลการวัดจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ น้ำหนักองค์ประกอบของตัวชี้วัดทั้ง 28 ตัวมีค่าเป็นบวกและมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความเที่ยงขององค์ประกอบมีค่าระหว่าง 0.82 ถึง 0.94 (2) คะแนนจุดตัดสำหรับประเมินจิตวิทยาศาสตร์มีค่าเท่ากับ 85 คะแนน และ (3) เกณฑ์การประเมินจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมีความเหมาะสม โดยมีค่าความไวและค่าความจำเพาะเท่ากับ 85.13 และ 82.22 ตามลำดับ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9003
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
154699.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.38 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons