กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9056
ชื่อเรื่อง: การประเมินความสอดคล้องระหว่างข้อสอบระดับชาติวิชาภาษาฝรั่งเศสกับกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาของสหภาพยุโรปโดยใช้วิธีแผนที่ข้อสอบ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Evaluation of alignment between French language national test and the common European framework of reference for languages using item mapping
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สังวรณ์ งัดกระโทก
พฤฒ ใบระหมาน, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
นลินี ณ นคร
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา-- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
ภาษาฝรั่งเศส--ข้อสอบและเฉลย
ข้อสอบ
ความสามารถทางภาษา--การประเมิน
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินความสอดคล้องระหว่างข้อสอบความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพภาษาฝรั่งเศสกับกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาของสหภาพยุโรป โดยใช้วิธีแผนที่ข้อสอบ และ (2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความไม่สอดคล้องระหว่างข้อสอบวิชาภาษาฝรั่งเศสกับกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาของสหภาพยุโรป ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ เนื้อหาของข้อสอบและการวัดทักษะทางสมอง (cognitive demand) ประชากรที่ใช้ศึกษา คือ ข้อสอบความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพภาษาฝรั่งเศส (PAT 7.1) จำนวน 100 ข้อ และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2560 แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ฝรั่งเศส ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในศูนย์พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศสภาคใต้ตอนล่าง จำนวน 388 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนจำนวน 163 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้วิจัย ประกอบด้วย แบบทดสอบความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพภาษาฝรั่งเศส (PAT 7.1) แบบประเมินความสอดคล้องตามแบบพอร์เตอร์ และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ การหาค่าสัดส่วน โมเดลการตอบข้อสอบแบบ 1 พารามิเตอร์ (โมเดลราสช์) ไคสแคว์ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย มีดังต่อไปนี้ (1) ข้อสอบความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพภาษาฝรั่งเศสที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาของสหภาพยุโรป มีจำนวน 16 ข้อ โดยข้อสอบที่สอดคล้องทั้งหมดวัดสมรรถนะการอ่าน ข้อสอบที่สอดคล้องส่วนใหญ่อยู่ในระดับภาษา A2 และวัดทักษะทางสมองขั้นวิเคราะห์/สืบสวน ผลการประเมินโดยใช้วิธีแผนที่ข้อสอบกับผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญมีความสอดคล้องกัน และ (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความไม่สอดคล้องสามารถแบ่งออกได้ 3 มิติ ได้แก่ ความไม่สัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาที่ใช้ออกข้อสอบกับเนื้อหาของมาตรฐาน การวัดทักษะทางสมองที่แตกต่างกัน และการใช้ภาษาและไวยากรณ์ในการสร้างข้อสอบที่ไม่สัมพันธ์กับมาตรฐานและไม่สัมพันธ์กับระดับความสามารถทางภาษาของนักเรียน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9056
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
155389.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.65 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons