Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9338
Title: ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD วิชาเคมี เรื่องของแข็ง ของเหลว แก๊ส ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดอุดรธานี
Other Titles: Effects of inquiry learning management together with STAD cooperative learning technique in the chemistry course topic of solid, liquid and Gas on learning achievement and analytical thinging ability of Mathayom Suksa V students at extra-large sized secondary Schools in Udon Thani Province
Authors: สุจินต์ วิศวธีรานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จรุณี ศรีทาดี, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกวิทยาศาสตร์ศึกษา -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
การเรียนแบบมีส่วนร่วม
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน -- เคมี
ความคิดและการคิด -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) -- ไทย -- อุดรธานี
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาเคมี เรื่อง ของแข็ง ของเหลว แก๊ส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัด อุดรธานี ที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD กับของนักเรียนที่เรียนแบบปกติ และ (2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดอุดรธานี ที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียน แบบสืบเสาะหาความรู้ที่เน้นการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD กับของนักเรียนที่เรียนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ โรงเรียนกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี 2 ห้องเรียน จำนวน 80 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม แล้วสุ่มห้องเรียน เป็นกลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วย เทคนิค STAD และกลุ่มควบคุมที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD แบบทดสอบวัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี และแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่อง ของแข็ง ของเหลว แก๊ส ของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าของนักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) ความสามารถใน การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าของนักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมี
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9338
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
155399.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.14 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons