กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9388
ชื่อเรื่อง: การประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากของนักเรียนประถมศึกษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Assessment of oral health literacy of primary school students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นลินี ณ นคร, อาจารย์ที่ปรึกษา
สังวรณ์ งัดกระโทก, อาจารย์ที่ปรึกษา
อนุพงษ์ สอดสี, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
ปาก -- การดูแลและสุขวิทยา
การประเมินผลทางการศึกษา
ความรอบรู้ทางสุขภาพ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพแบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากของนักเรียนประถมศึกษา และ (2) ประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากของนักเรียนประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จังหวัดสุพรรณบุรี ปีการศึกษา 2561 จำนวน 500 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ทฤษฎีการตอบข้อสอบแบบ 2 พารามิเตอร์ โมเดล GRM และการวินิจฉัยทางพุทธิปัญญา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) แบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ การเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก, ความเข้าใจข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก, การประเมินค่าข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก, การใช้ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก, การสื่อสารกับวิชาชีพทันตกรรม และการสนับสนุนจากสังคม โมเดลการวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X2/df = 2.06, RMSEA = 0.046, SRMR = 0.048) และแบบวัด มีความตรงตามเกณฑ์ (2) การประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากของนักเรียนประถมศึกษา พบว่า นักเรียนมีรูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากครบทั้ง 6 ประกอบ ร้อยละ14.84 เมื่อพิจารณารายองค์ประกอบของความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก พบว่า องค์ประกอบที่นักเรียน มีความรอบรู้มากที่สุดคือ การสื่อสารกับวิชาชีพทันตกรรม รองลงมาคือ การสนับสนุนจากสังคม ส่วนองค์ประกอบที่นักเรียนมีความบกพร่องมากที่สุดคือ ความเข้าใจข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก รองลงมาคือ การเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9388
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
161987.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.45 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons