กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9468
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่เพื่อเป็นผู้ประกอบการเกษตรในจังหวัดพะเยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guideline for developing of new generation farmers to be agricultural entrepreneurs in Phayao Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
อัครินทร์ ธนันต์ชัยเลิศ, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
เกษตรกร
ผู้ประกอบการ--ความต้องการการฝึกอบรม
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) การประกอบการเกษตรของเกษตรกรรุ่นใหม่ 2) ความรู้และแหล่งความรู้ของเกษตรกรรุ่นใหม่ 3) ความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ของเกษตรกรรุ่นใหม่ 4) ความต้องการ ปัญหาและข้อเสนอแนะในการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ 5) สภาพแวดล้อมภายใน สภาพแวดล้อมภายนอกและแนวทางในการพัฒนาเพื่อเป็นผู้ประกอบการเกษตรของเกษตรกรรุ่นใหม่ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ทานา รองลงมาคือ เลี้ยงไก่และเลี้ยงปลา ไม่มีการแปรรูป ไม่มีผลิตภัณฑ์และไม่มีการบริการอื่นๆ ในฟาร์ม มีตลาดภายในพื้นที่ มีทักษะในการประกอบการเกษตรอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีทักษะด้านการผลิตพืชมากที่สุด 2)มีความรู้ด้านการเกษตรอยู่ในระดับมากและได้รับแหล่งความรู้ด้านการเกษตรจากแหล่งต่างๆในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยได้รับความรู้จากเทคโนโลยีสารสนเทศมากกว่าแหล่งอื่นๆ3) มีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความพึงพอใจด้านกิจกรรมมากกว่าด้านอื่นๆ 4) ความต้องการในการรับการส่งเสริมในภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยมีความต้องการรับการส่งเสริมในด้านองค์ความรู้มากที่สุด คือ การตลาด มีปัญหาที่เกี่ยวกับการพัฒนาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีปัญหาด้านการตลาดมากที่สุด คือ พ่อค้าคนกลางกดราคามีข้อเสนอแนะในการพัฒนาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีข้อเสนอแนะด้านการสนับสนุนมากที่สุด คือ ควรมีหน่วยงานที่สนับสนุนแหล่งเงินทุนสาหรับเกษตรกรรุ่นใหม่ 5) สภาพแวดล้อมภายใน มีจุดแข็งที่สาคัญคือ มีแผนการผลิต มีเครือข่ายด้านการตลาด มีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้ดีจุดอ่อนที่สาคัญคือ ขาดเงินทุน ขาดความรู้ในการบริหารจัดการที่เหมาะสม ขาดทักษะในการประชาสัมพันธ์ สภาพแวดล้อมภายนอก มีโอกาสที่สาคัญคือ กระแสนิยมเกษตรอินทรีย์ มีแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ เครือข่ายสังคมออนไลน์ อุปสรรคที่สาคัญคือ ราคาต้นทุนการผลิตสูง ระบบขนส่งที่ล่าช้า ราคาสินค้าตกต่า กลยุทธ์ในการพัฒนา ได้แก่ การผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ให้ได้มาตรฐานสร้างเครือข่ายผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ให้มีความเข้มแข็งพัฒนาระบบขนส่งโดยเป็นจุดรวบรวมและกระจายสินค้าส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสนับสนุนองค์ความรู้ด้านการจัดการจากผู้เชี่ยวชาญส่งเสริมการแปรรูปสินค้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์และพัฒนาศักยภาพเกษตรกรให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9468
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม23.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons