กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/961
ชื่อเรื่อง: | ผลการได้รับโปรแกรมสารสนเทศการดูแลสุขภาพช่องปากที่มีต่อความรู้พฤติกรรม และสภาวะทันตสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ที่คลินิกทันตกรรม โรงพยาบาลประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Results of the program of oral health care information on the knowledge, behavior and oral health of pregnant women at the dental clinic of Prachantakham Hospital in Prachantakham Hospital in Prachin Buri province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | น้ำทิพย์ วิภาวิน สมบัติ แสงเพ็ชร์, 2516- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา พวา พันธุ์เมฆา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์ สารสนเทศทางการพยาบาล ทันตานามัย สตรีมีครรภ์--การดูแล |
วันที่เผยแพร่: | 2553 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ทันตสุขภาพ พฤติกรรมทันตสุขภาพ และสภาวะทันตสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมสารสนเทศการดูแลสุขภาพช่องปาก 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของความรู้ทันตสุขภาพ กับพฤติกรรมทันตสุขภาพ และสภาวะทันตสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการที่คลินิกทันตกรรม โรงพยาบาลประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ หญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการตรวจสุขภาพช่องปากที่คลินิกทันตกรรม โรงพยาบาลประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 260 คน การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่ม ตัวอย่างแบบง่ายโดยเลือกหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการตรวจสุขภาพช่องปากที่คลินิกทันตกรรม โรงพยาบาลประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี มีอายุระหว่าง 15 -24 ปี ระดับการศึกษาต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และได้รับการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อโรคฟันผุ และโรคปริทันต์ ซึ่งได้ค่าความเสี่ยงสูงต่อโรคฟันผุ และโรคปริทันต์ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบ แบบสอบถาม และแบบบันทึกประสิทธิภาพการแปรงฟัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์ และนำเสนอด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1) หญิงตั้งครรภ์หลังได้รับโปรแกรมสารสนเทศการดูแลสุขภาพช่องปากมีความ รู้ทันตสุขภาพ พฤติกรรมทันตสุขภาพ และสภาวะทันตสุขภาพดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมสารสนเทศการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2) ความรู้ทันตสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์หลังได้รับโปรแกรมสารสนเทศการดูแลสุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับพฤติกรรมทันตสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความรู้ทันตสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์หลังได้รับโปรแกรมสารสนเทศการดูแลสุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลาง กับสภาวะทันตสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/961 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Arts-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext (14).pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 18.35 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License