Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9651
Title: การเปรียบเทียบการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ระหว่างพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดเชียงใหม่ และพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดลำปาง
Other Titles: Comparison study of learning organization between Provincial Electricity Authorities of Chiang Mai and Lampang
Authors: สุรีย์ เข็มทอง
ธนกร ปัดสาพันธุ์, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค--ไทย--เชียงใหม่--พนักงาน
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค--ไทย--ลำปาง--พนักงาน
การเรียนรู้องค์การ
วัฒนธรรมองค์การ
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาพรวมการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำปาง และ (2) เปรียบเทียบการเป็นองค์กร แห่งการเรียนรู้ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำปาง การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 195 คน และพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัด ลำปาง จำนวน 135 คน ช่วงระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2555 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตร ของทาโร ยามาเน่ได้จำนวนทั้งสิ้น 184คน เป็นกลุ่มตัวอย่างพนักงานจากจังหวัดเชียงใหม่ 109คน พนักงานจากจังหวัดลำปาง 75 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วนตามประชากรของแต่ละจังหวัด เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษาพบว่า (1)การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดเชียงใหม่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี และทุกองค์ประกอบของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ พบว่าอยู่ในระดับดีเช่นกัน โดยเรียงตามลำดับได้ ดังนี้ การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน การคิดอย่างเป็นระบบ การเรียนรู้และพัฒนาความรู้ การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม และการพัฒนากรอบแห่งภูมิปัญญา ส่วนการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดลำปางโดยภาพรวมและทุกองค์ประกอบ อยู่ในระดับดีเช่นเดียวกัน โดยเรียงตามลำดับได้ ดังนี้ การคิดอย่างเป็นระบบ การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน การเรียนรู้และพัฒนาความรู้ การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม และการพัฒนากรอบแห่งภูมิปัญญา และ (2) ผลการเปรียบเทียบภาพรวมการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ระหว่างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำปาง พบว่ามีสภาวะการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ไม่แตกต่างกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9651
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
132359.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.38 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons