กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/967
ชื่อเรื่อง: | ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลการบริหารความปลอดภัยในระบบบริการพยาบาลกับความปลอดภัยของผู้ป่วย ในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Relationships between effectiveness of safety management in nursing care delivery system and patient safety at Community Hospitals in Nakhon Sawan province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พูลสุข หิงคานนท์ ประภัสสร นาวเหนียว, 2504- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุภมาส อังศุโชติ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์ บริการการพยาบาล ความปลอดภัย ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงพรรณาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประสิทธิผล การบริหารความปลอดภัยในระบบบริการพยาบาลของพยาบาทวิชาชีพ ในโรงพยาบาลชุมชน (2) ระดับความปลอดภัยของผู้ป่วยในโรงพยาบาลชุมชน และ(3 ) ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผล การบริหารความปลอดภัยในระบบบริการพยาบาลและระดับความปลอดภัยของผู้ป่วย ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 230 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามขนาดของโรงทยาบาล เครื่องมือวิจัยคือ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น การบริหารความปลอดภัยในระบบบริการพยาบาล และความปลอดภัยของผู้ป่วย เท่ากับ 0.98 และ 0.92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิสหสัมพันธ์เพียธ์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ประสิทธิผลของการบริหารความปลอดภัยในระบบบริการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณารายขั้นตอนของการบริหารความปลอดภัย พบว่าการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร การสนับสนุนการรายงานอุบัติการณ์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากบทเรียนของความปลอดภัย และการบูรณาการกิจกรรมบริหารความเสี่ยง อยู่ในระดับสูงขั้นตอนการนำแนวทางการแก้ไขปัญหาไปใช้ ในการป้องกันการเกิดอันตรายต่อผู้ป่วย การนำและสนับสนุนการ ทำงานที่ปลอดภัยของบุคลากรพยาบาล และการสื่อสารให้ผู้ป่วยบริการและชุมชนมีส่วนร่วมในระบบความปลอดภัย อยู่ในระดับปานกลาง (2) ความปลอดภัยของผู้ป่วย โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาระดับความปลอดภัยรายด้านพบว่าทุกด้านได้แก่ การติดเชื้อจากการดูแลรักษา การระบุตัวผู้ป่วย การใช้ยา และการสื่อสาร อยู่ในระดับสูงเช่นกัน (3) ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลการบริหารความปลอดภัยในระบบบริการพยาบาล กับระดับความปลอดภัยของผู้ป่วย ด้านการสื่อสารมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางทุกขั้นตอน (r - .326-.437) ด้านการใช้ยามีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำทุกขั้นตอน (r - .192 -.279) และด้านการระบุตัวมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำทุกขั้นตอน (r- .160 -.274) อย่างมีนัยสัาคัญทางสถิติที่ระดับ .01, .05 ด้านการ ติดเชื้อจากการดูแลรักษาไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการบริหารความปลอดภัยในระบบบริการพยาบาลทุกขั้นตอน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/967 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
102155.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 6.35 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License