กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/995
ชื่อเรื่อง: | ความสำคัญเชิงการเมืองของพระราชวังสนามจันทร์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The political significance of Sanam Chandra Palace during the reign of King Rama VI |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | รสลิน ศิริยะพันธุ์ ทศพงษ์ ตระกูลโชคอำนวย, 2520- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา รุ่งพงษ์ ชัยนาม |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์. พระราชวังสนามจันทร์ -- แง่การเมือง |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ (1) ปัจจัยทางการเมืองที่ส่งผลให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูหัวทรงมีพระราชดำริโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังสนามจันทร์ (2) ปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ ที่ส่งผลให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูหัว ทรงเลือกจังหวัดนครปฐมเป็นสถานที่สร้างพระราชวังสนามจันทร์ (3) ความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง ของพระราชวังสนามจันทร์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูหัว วิธีการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยทางประวัติศาสตร์นำเสนอข้อมูลแบบพรรณนา และพรรณนาวิเคราะห์ โดยศึกษาข้อมูลหลักฐานจากเอกสารชั้นต้น และเอกสารชั้นรอง พร้อมเสริมด้วยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับ พระราชวังสนามจันทร์และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูหัว จำนวน 8 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยทางการเมืองที่ส่งผลให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูหัวทรงมี พระราชดำริโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังสนามจันทร์ ได้แก่ ปัจจัยทางการเมืองภายนอกประเทศ อันเนื่องมาจากปัญหาภัยคุกคามจาก อังกฤษ และฝรั่งเศส ที่ทำให้ไทยต้องเสียดินแดนให้กับมหาอำนาจทั้งสองนี้ไป ในระหว่าง พ.ศ. 2410-2452 (ค.ศ.1867-1909) รวมทั้งสิ้น 7 ครั้ง คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 518,700 ตารางกิโลเมตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์การเสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) ส่วนปัจจัยทางการเมืองภายในประเทศ อันเนื่องมาจากปัญหาความขัดแย้งกับทหารและความขัดแย้งในราชวงศ์ ไม่มีผลต่อแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูหัว ในการสร้างพระราชวังสนามจันทร์ (2) ปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ส่งผลให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูหัวทรงเลือกจังหวัดนครปฐมเป็นสถานที่สร้างพระราชวังสนามจันทร์ ได้แก่ ที่ตั้งอาณาเขต ทรัพยากร ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศ และอุปสรรคทางธรรมชาติ (3) ความสำคัญเชิงการเมืองของพระราชวังสนามจันทร์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูหัว ได้แก่ ความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง คือ การเป็นฐานที่มั่นสำรอง ค่ายหลวงซ้อมรบ เสือป่า และสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในการปลูกฝังอุดมการณ์ชาตินิยม |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/995 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib130274.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 25.19 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License