Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11509
Title: ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสตูลตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
Other Titles: Selected factors affecting the management of child development centers under the Subdistrict Administrative Organizations in Satun Province in accordance with the Standards of the National Early Childhood Development Center
Authors: โสภนา สุดสมบูรณ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เก็จกนก เอื้อวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นูไรนี เศรษฐสุข, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--วิทยานิพนธ์
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก--ไทย--สตูล--การบริหาร
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2) การบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องและการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และ 4) ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสตูลตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและผู้ดูแลเด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสตูล จำนวน 184 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ จากนั้นสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามขนาดของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ ด้านลักษณะโครงสร้างองค์กร ด้านภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และด้านวัฒนธรรมองค์กร มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .94 .91 .81 และ.92 ตามลำดับ และการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับ ได้แก่ ด้านภาวะผู้นาทางวิชาการของผู้บริหาร ด้านวัฒนธรรมองค์กร ด้านลักษณะโครงสร้างองค์กร และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2) การบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับ ได้แก่ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ การจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและการเรียนรู้ การบริหารจัดการบุคลากร และการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อความปลอดภัย 3) ปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในระดับปานกลางถึงสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ปัจจัยคัดสรรทุกปัจจัยส่งผลต่อการบริหารจัดการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยเรียงตามลำดับดังนี้ ด้านวัฒนธรรมองค์กร ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านลักษณะโครงสร้างองค์กร และด้านภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 65.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11509
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.82 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons