Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12653
Title: การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมจิต 5 ลักษณะเพื่ออนาคต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Other Titles: Development of a science instruction model enhancing five minds for the future for Mathayom Suksa 1 students
Authors: ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์
วริศนันท์ เดชปานประสงค์, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์
ไสว ฟักขาว
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน--วิทยานิพนธ์
วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมจิต 5 ลักษณะเพื่ออนาคต ได้แก่ ด้านความมีวินัยในตนเองทางการเรียน ด้านการคิดสังเคราะห์ ด้านการคิดสร้างสรรค์ ด้านการเคารพและเข้าใจผู้อื่น และด้านจริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมจิต 5 ลักษณะเพื่ออนาคตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 การดำเนินการวิจัย มีดังนี้ ระยะที่ 1 การสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ด้วยการวิเคราะห์ร่างรูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมจิต 5 ลักษณะเพื่ออนาคต วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์แผนการเรียนการสอนและเครื่องมือวัดประสิทธิผลของรูปแบบ โดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง หาค่าความเที่ยง และการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 ห้องเรียน ได้มาด้วยการสุ่มแบบกลุ่ม โดยมีหน่วยการสุ่ม คือ ห้องเรียน แล้วสุ่มห้องเรียนที่ได้เป็นกลุ่มทดลองที่ใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นและกลุ่มควบคุมที่สอนแบบปกติ จัดการเรียนการสอนตามการทดลองใช้เวลา 24 คาบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักการของรูปแบบ (2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ (3) ขั้นตอนการเรียนการสอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การลับสมอง ขั้นที่ 2 การจัดประสบการณ์ ขั้นที่ 3 การฝึกปฏิบัติและการพัฒนา และขั้นที่ 4 การสรุปสังเคราะห์ และ (4) การวัดและประเมินผล ผลการประเมินความเหมาะสมของแต่ละองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับเหมาะสมมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.89 และ 2) การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมจิต 5 ลักษณะเพื่ออนาคต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปรากฏผล ดังนี้ (1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านความมีวินัยในตนเองทางการเรียนความสามารถด้านการคิดสังเคราะห์ ความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ การแสดงออกของพฤติกรรมด้านการเคารพและเข้าใจผู้อื่น การแสดงออกของพฤติกรรมด้านจริยธรรม หลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน และ (2) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีคะแนนเฉลี่ยจิตลักษณะในแต่ละด้านและโดยรวมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12653
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdf34.69 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons