กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12653
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมจิต 5 ลักษณะเพื่ออนาคต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of a science instruction model enhancing five minds for the future for Mathayom Suksa 1 students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รชพร จันทร์สว่าง
วริศนันท์ เดชปานประสงค์, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน --วิทยานิพนธ์
วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อความสำเร็จในการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์การ และ (2) เปรียบเทียบระดับความสำเร็จในการจัดการความรู้จำแนกตามปัจจัยส่วน การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือ พนักงาน ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว ที่ปฏิบัติงานในเทศบาลตำบลคำตากล้า จังหวัดสกลนคร จำนวน 119 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางกำหนดขนาดของเครจซี่และมอร์แกน และใช้การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม โดยหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมดิฐาน โดยใช้การทคสอบค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ในกรณีที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงทำการทคสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับความคิดเห็นต่อความสำเร็จในการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์การ ด้านการเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเองในอดีต ด้านการแก้ปัญหาอย่างมีระบบ ด้านการถ่ายทอดความรู้อย่างรวดร็วและมีประสิทธิภาพ ด้านการเรียนรู้จากประสบการณ์และสิ่งที่ผู้อื่นทำได้เป็นอย่างดี ด้านการทดลองแนวทางใหม่ ๆ ตามลำดับ ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และ (2) ระดับความสำเร็จในการจัดการความรู้ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ระดับการศึกษาและระยะเวลาในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความสำเร็จในการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์การแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อเปรียบเทียบเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ พบว่า กลุ่มการศึกษาระดับปริญญาโทมีความคิดเห็นต่อความสำเร็จในการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์การมากกว่ากลุ่มการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี และกลุ่มการศึกษาระดับปริญญาตรีตามลำดับ และกลุ่มที่มีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี มีความคิดเห็นต่อความสำเร็จในการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์การแตกต่างจากกลุ่มที่มีประสบการณ์น้อยกว่า 5 ปี และ 5-10 ปี
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12653
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_147902.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.69 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons