กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1637
ชื่อเรื่อง: | ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างความทะเยอทะยานของนักเรียนวัยรุ่นในสถานสงเคราะห์บ้านพักพิงอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effects of using a guidance activities package to enhance ambition of adolescents in Ban Phakphing Foster Home, Chiang Kham District, Phayao Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุขอรุณ วงษ์ทิม, อาจารย์ที่ปรึกษา ลัดดาวรรณ ณ ระนอง, อาจารย์ที่ปรึกษา นิดดา ถาวร, 2516- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณทิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา --วิทยานิพนธ์ การแนะแนว--กิจกรรมการเรียนการสอน วัยรุ่น--พฤติกรรม วัยรุ่น--ไทย-- พะเยา |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความทะเยอทะยานของนักเรียนวัยรุ่นกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว และ (2) เปรียบเทียบความทะเยอทะยานของ นักเรียนวัยรุ่นกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวและของนักเรียนวัยรุ่นกลุ่มควบคุมที่ทํากิจกรรมแนะแนวแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียนวัยรุ่นในสถานสงเคราะห์บ้านพักพิงอําเภอเชียงคํา จังหวัดพะเยา ที่มีอายุระหว่าง 13 - 18 ปี จํานวน 20 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง แล้วสุ่มอย่างง่ายเพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน เท่ากัน กลุ่มทดลองใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างความทะเยอทะยาน จํานวน 10 ครั้ง ครั้งละ 50 นาที ส่วนกลุ่มควบคุมทํากิจกรรมแนะแนวแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่(1) แบบวัดความทะเยอทะยานซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .89 (2) ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างความทะเยอทะยาน และ (3) กิจกรรมแนะแนวแบบปกติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่ามัธยฐาน ค่าเบี่ยงเบนควอไทล์การทดสอบวิลคอกซัน และการทดสอบแมนวิทนีย์ ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) นักเรียนวัยรุ่นกลุ่มทดลองมีความทะเยอทะยานสูงขึ้นภายหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างความทะเยอทะยาน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (2) นักเรียนวัยรุ่นกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวมีความทะเยอทะยานมากกว่าของกลุ่มควบคุมที่ทํากิจกรรมแนะแนวแบบปกติ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1637 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_159644.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 1.64 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License