Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/637
Title: | การประเมินหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงระบบทวิภาคีสาขาวิชาช่างยนต์วิทยาลัยเทคนิคเชียงราย |
Other Titles: | An evaluation of the higher vocational education certificate program in the Dual Vocational training System on Auto Mechanics at Chaing Rai Technical College |
Authors: | กาญจนา วัธนสุนทร, อาจารย์ที่ปรึกษา คมศร วงษ์รักษา, อาจารย์ที่ปรึกษา สุพัตรา สุขสันต์, 2507- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา --วิทยานิพนธ์. การประเมินหลักสูตร การศึกษาทางวิชาชีพ--หลักสูตร |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถประสงค์ เพื่อประเมินหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระบบทวิภาคี สาขาวิชาช่างยนต์วิทยาลัยเทคนิคเชียงราย ในด้านการเตรียมความพร้อมในการใช้หลักสูตร ประเมินปัจจัยเบื้องต้นของหลักสูตรประเมินกระบวนการใช้หลักสูตร และประเมินผลผลิตของหลักสูตรประชากรที่ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน อาจารย์ผู้สอนในรายวิชาต่างๆจำนวน 21คน นักศึกษาชั้นปืที่2 ปีการศึกบา 2546 จำนวน48 คนผู้สำเร็จการศึกษาในปีการศึกบา 2544 - 2545 จำนวน 47 คน ครูฝึก จำนวน 23 คน และนายจ้างหรือหัวหน้างานหรือเจ้าของสถานประกอบการ จำนวน 23 คน แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนี้อหาผลการวิจัย ด้านการเตรียมความพร้อมในการใช้หลักสูตรพบว่า ผู้บริหารและอาจารย์มีการปฏิบัติในระดับมากทุกด้าน ยกเว้นการจัดมุมวิชาการสำหรับอาจารย์ผู้สอนได้ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง และการติดตามประเมินผลการใช้งบประมาณอย่างเป็นระบบมีการปฏิบัติในระดับน้อย ด้านประเมินปัจจัยเบื้องต้นพบว่า อาจารย์ นักศึกษา และผู้สำเร็จการศึกษา เห็นว่า มีความเหมาะสมในระดับมาก มีความสอดคล้องกับโครงสร้างของหลักสูตร ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามัคคี รู้จักรับผิดชอบ มีความคิดในการแก้ปัญหาในเรื่องต่าง ๆ ผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้จริง และเหมาะสมกับการใช้ประโยชนในชีวิตประจำวัน ด้านกระบวนการการจัดการเรียนการสอนพบว่า อาจารย์ นักศึกษา และผู้สำเร็จการศึกษา เห็นว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก ยกเว้น เรื่องการเชิญวิทยากรในท้องถิ่นมาให้ความรู้แก่นักศึกษายังมีการปฏิบัติในระดับน้อย และด้านผลผลิตของหลักสูตรในด้านคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาพบว่า อาจารย์ ครูฝึกและนายจ้างหรือหัวหน้างานหรือเจ้าของสถานประกอบการเห็นว่ามีความเหมาะสมในระดับมากทุกเรื่อง และควรปรับปรุงในเรื่องความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศและการใช้คอมพิวเตอร์ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/637 |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License