กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8211
ชื่อเรื่อง: การศึกษาสภาพการใช้แหล่งชุมชน ประกอบการสอนวิชาสังคมศึกษา ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดกรมสามัญศึกษา ของจังหวัดขอนแก่น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Study on the utilization of community resources for social studies instruction at lower secondary level
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สิริวรรณ ศรีพหล
สุรจิตร ทีบัว, 2497-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สมจิตร วัฒนคุลัง
สมพันธ์ เตชะอธิก
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน--วิทยานิพนธ์
สังคมศึกษา--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
ชุมชน
วันที่เผยแพร่: 2538
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเภทของแหล่งชุมชน ลักษณะการใช้ แหล่งชุมชน ประโยชน์จากแหล่งชุมชน ปัญหาแนวโน้ม ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ การใช้แหล่งชุมชนประกอบการสอนวิชาสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในสังกัดกรม สามัญศึกษา ของจังหวัดขอนแก่น ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ อาจารย์ผู้สอนวิชาสังคม ศึกษา จำนวน 176 คน ผลการวิจัย พบว่า ประเภทของแหล่งชุมชนที่ใช้มากโดยส่วนใหญ่ คือ ประเภท- บุคลากรได้แก่ พระสงฆ์ นักบวช ชี ประเภทสถานที่ ได้แก่ ห้องสมุด ทั้งที่เป็นของทางราชการ และของเอกชน ประเภทเอกสารสิ่งพิมพ์ส่วนใหญ่ใช้เอกสารเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ส่วนประเพณี และความเชื่อ ส่วนมากจะใช้ฮีต 12 เดือน และผูกเสี่ยว ประเภทที่มีการใช้เป็นส่วนน้อย คือ แหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ และความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องผีและไสยศาสตร์ ลักษณะการใช้ พบว่า ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน ส่วน เวลาที่ใช้ คือ เวลาเรียน กิจกรรมก่อนใช้แหล่งชุมชนส่วนมากแบ่งกลุ่ม กำหนดหน้าที่ความรับผิด ชอบ และกิจกรรมปฏิบัติหลังใช้แหล่งชุมชน คือ การให้นักเรียนเขียนรายงานและสรุปร่วมกัน ปัญหาและอุปสรรค ในการไปศึกษานอกสถานที่ ครูและนักเรียนขาดการวางแผน และ เตรียมตัว การติดต่อวิทยากรมาบรรยายมีปัญหาเรื่องไม่ทราบแหล่งวิทยากร การติดต่อวิทยากรยุ่ง ยากเกินไป วิทยากรบรรยายไม่ตรงกับเนื้อหาที่กำหนดให้ ไม่มีชั่วโมงพิเศษสำหรับวิทยากรและผู้ บริหารไม่ให้การสนับสนุน การสำรวจชุมชน อยู่ห่างไกลชุมชนมากเกินไป สภาพภูมิประเทศไม่เอื้ออำนวย ส่วนการสัมภาษณ์บุคลากร ขาดแคลนบุคลากรที่เป็นแบบอย่างที่ดี ขาดแคลนวัสดุ อุปกรณ์ และงบประมาณในการดำเนินการ ความต้องการและข้อคิดเห็น ครูส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการใช้แหล่งชุมชนประกอบการสอนและเห็นว่าแหล่งชุมชนจะช่วยให้ผู้เรียนได้รับเนื้อหาและประสบการณ์ตรงมากยิ่งขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช, 2538.
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8211
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT_48442.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.88 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons