กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8993
ชื่อเรื่อง: ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวด้วยเทคนิคตัวแบบ เพื่อพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนบ้านเตง (เรือนจุลประชาสรรค์) จังหวัดพัทลุง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of using a guidance activities package based on modeling technique to develop public-mindedness of lower secondary students at Ban Teng (Rueanchoon Prachasan) School in Phatthalung Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จิระสุข สุขสวัสดิ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ลัดดาวรรณ ณ ระนอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรรณพัชร ชูทอง, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา -- วิทยานิพนธ์
จิตสาธารณะ
กิจกรรมของนักเรียน -- ไทย
การแนะแนว -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) -- ไทย -- พัทลุง
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านเตง (เรือนจุลประชาสรรค์) จังหวัดพัทลุง ในกลุ่มทดลองก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวด้วยเทคนิคตัวแบบ (2) เปรียบเทียบผลการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนดังกล่าวในกลุ่มทดลอง ระยะหลังการทดลองกับระยะติดตามผล และ (3) เปรียบเทียบผลการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนดังกล่าวในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ระยะหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 62 คนของโรงเรียนบ้านเตง (เรือนจุลประชาสรรค์) จังหวัดพัทลุง ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย ต่อจากนั้นแบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้วิธีการจับฉลาก คือ กลุ่มทดลอง จำนวน 31 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 31 คน ในกลุ่มทดลองผู้วิจัยใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวด้วยเทคนิคตัวแบบเพื่อพัฒนาจิตสาธารณะ จำนวน 8 ครั้ง ส่วนในกลุ่มควบคุมผู้วิจัยใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวปกติ จำนวน 8 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) ชุดกิจกรรรมแนะแนวด้วยเทคนิคตัวแบบเพื่อพัฒนาจิตสาธารณะ (2) ชุดกิจกรรรมแนะแนวปกติเพื่อพัฒนาจิตสาธารณะ และ (3) แบบวัดจิตสาธารณะที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนบ้านเตง (เรือนจุลประชาสรรค์) ในกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมจิตสาธารณะสูงกว่าพฤติกรรมดังกล่าวก่อนการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวด้วยเทคนิคตัวแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมจิตสาธารณะไม่แตกต่างกับพฤติกรรมดังกล่าวในระยะติดตามผล และ (3) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวด้วยเทคนิคตัวแบบมีพฤติกรรมจิตสาธารณะสูงกว่าพฤติกรรมดังกล่าวของนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับชุดกิจกรรมแนะแนวปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8993
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
153710.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.97 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons